![]() |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
---|---|
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ | -ว่าง- |
รายงานการตรวจราชการแบบบูรณาการฯ |
---|
- รายงานผลการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ |
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
---|
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ |
ในการร้องเรียนการทุจริตควรมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น
1. ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของผู้ร้องเรียน
2. ชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกร้องเรียน
3. ข้อกล่าวหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริต
4. บรรยายพฤติการณ์การกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาการทุจริตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงวันเวลาที่กระทำความผิด รายละเอียดการกระทำความผิด พร้อมระบุพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐานที่สามารถยืนยันหรือสนับสนุนการกล่าวหาร้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง มีพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือไม่ เป็นผู้ใด อย่างไร ในเรื่องนี้ได้กล่าวหาร้องเรียนไปหน่วยงานใดหรือไม่ และเป็นผลประการใด
5. ควรป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ - สกุล หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ โทรศัพท์ และอีเมล (e-mail) ของผู้ร้องเรียนที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับเพื่อยืนยันการกล่าวหาร้องเรียน หรือขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างที่สุด กรณีที่ไม่เปิดเผยชื่อ - สกุลจริงถือว่าเป็น "บัตรสนเท่ห์" ซึ่งหากไม่ระบุพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ อาจไม่รับหรือไม่ยกเรื่องร้องเรียนดังกล่าวขึ้นพิจารณาได้
6. กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ
7. ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างที่สุด
ความเป็นมา |
---|
จากปัญหาการทุจริตที่ผ่านมา มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน โดยมุ่งการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวังเพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้เสริมสร้างกลไกขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ขึ้นมา ๓ ระดับ คือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นกลไกระดับนโยบาย มีนายกรัฐมนตรี/หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน กรรมการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติให้เป็นกลไกขับเคลื่อนภาพรวมระดับประเทศ และกลไกระดับปฏิบัติการ โดยการออกมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประจำอยู่ทุกส่วนราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่า ปัจจุบันมีจำนวน ๓๕ ศูนย์ ให้เป็นกลไกประสานงาน กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ข้อสั่งการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต กับหน่วยงานภายใต้กำกับทั้งหมด ซึ่งได้แก่หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนประสาน กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในฐานะที่สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต มีบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และด้านคุ้มครองจริยธรรม ดังนี้ |
วิสัยทัศน์ | "กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต" |
---|
พันธกิจ | "การป้องกันและปราบปรามการทุจิต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัต์สุจริต" |
---|
เป้าประสงค์ | 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต |
---|---|
2. สร้างกลไกป้องกันและปราบปรามการทุจริต | |
3. เสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | |
4. เพื่อยกระดับจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรในองค์กร |
ยุทธศาสตร์ | ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต |
---|---|
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก | |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต |
อำนาจหน้าที่ | กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
---|---|
1. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ | |
2. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ นโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ตลอดจนบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ และส่วนราชการในสังกัด | |
3. ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตามให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ | |
4. รับข้อรองเรียนเรื่องทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานงาน ติดตาม อย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ | |
5. เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอดช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอดช. สั่งการหรือร้องขอ | |
6. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ | |
7. ส่งเสริมให้ทุกภาพส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ | |
8. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัดและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
กลุ่มงานจริยธรรม | |
1. งานคุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน | |
2. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการระดับกระทรวง หรือระดับกรม | |
3. ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
4. รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด ตลอดจน เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ. | |
5. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การดำเนินการตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัดเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ |
รายการพระราชกฤษฎีกา |
---|
- พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 |
รายการประมวลจริยธรรม |
---|
- ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน |
รายการแบบฟอร์ม |
---|
ASEAN Digital Hub
กิจกรรมการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)
ดศ. ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มศักยภาพไทยให้เป็นศูนย์กลางการติดต่อสารสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทราฟฟิคสูง และยังตอบสนองความต้องการใช้งานดิจิทัลคอนเทนต์จำนวนมากในประเทศ ซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยการสร้างโอกาสอันดีที่ไทยจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ (Content Provider) รายใหญ่ให้มาตั้งฐานข้อมูลในไทยใช้งานผ่านโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำที่ได้ขยายความจุไว้พร้อมรองรับอันจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาศักยภาพก้าวสู่การเป็น ASEAN Digital Hub ตอนบนได้อย่างมั่นคงซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมสำคัญ คือ
กิจกรรมย่อยที่ ๑ เสริมความแข็งแกร่งในประเทศและเขตติดต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยการเพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมา และจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังสถานีเคเบิลใต้น้ำจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี สงขลา สตูล และกับศูนย์โทรคมนาคมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขนาดความจุรวม 2,300 Gbps
สถานะปัจจุบัน
การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศรวม ๑๕๑ สถานี (ตามแผนเดิม) เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งมอบอุปกรณ์ให้กับกระทรวงฯ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ และกระทรวงฯ อนุมัติรับงานไว้ใช้ในราชการแล้ว
ทั้งนี้ มีปัญหาและอุปสรรคจากผลกระทบโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ ทำให้อุปกรณ์ที่ติดตั้งที่สถานีเพชรบุรี และสถานีศรีราชา (ระบบ PS) ไม่สามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ จึงต้องปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายเพื่อทดแทน โดย ครม. มีมติเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ เห็นชอบให้ดำเนินการปรับปรุงแผนงานและงบประมาณการดำเนินโครงการฯ ปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานให้ได้ตามวัตถุประสงค์ (Final Acceptance Test) แล้วเสร็จ และได้จัดทำผลการทดสอบที่เกี่ยวข้องมาให้แก่ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว โดยคณะกรรมการตรวจรับฯ ของ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้รับไว้ใช้งานแล้ว เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการรับไว้ใช้งานอย่างเป็นทางการของ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ก่อนส่งมอบให้แก่ สป.ดศ. ต่อไป
ในส่วนทรัพย์สินภายใต้กิจกรรมย่อยที่ ๑ ได้ให้ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ยืมพัสดุอุปกรณ์เพื่อนำไปให้บริการโดยต้องลดอัตราค่าบริการวงจรเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้การให้บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐
ของอัตราค่าบริการภายในเวลา ๑ ปี ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดค่าบริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศเพื่อนบ้าน อันจะส่งผลให้ค่าบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนถูกลง รวมทั้งจูงใจให้ภาคเอกชนมาใช้บริการและทำให้ค่าบริการของเอกชนภายในประเทศลดลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนโดยรวม
กิจกรรมย่อยที่ ๒ ขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมโดยร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีสมาชิกของระบบ ขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของระบบที่มีอยู่ รวม 1,770 Gbpsเพื่อลดค่าบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้ค่าบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนถูกลง
สถานะปัจจุบัน
ขณะนี้ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้นำสิทธิการใช้งานความจุที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ เปิดใช้งานแล้ว จำนวน ๑,๑๙๐ Gbps (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔) โดยภายหลังจากได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิการใช้งานความจุฯ แล้ว บมจ. โทคมนาคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขข้อกำหนดการอนุญาตให้ใช้สิทธิการใช้งานความจุฯ ที่กำหนดให้ลดอัตราค่าบริการจากปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของอัตราค่าบริการภายในระยะเวลา ๒ ปี โดยการดำเนินการในขณะนี้สามารถปรับลดราคาค่าบริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (IIG) ปรับลดได้ ๔๕ % - ๕o % และวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) ปรับลดได้ ๓๐ % ซึ่งสามารถปรับลดอัตราค่าบริการได้มากกว่าร้อยละ ๒๐ ของอัตราค่าบริการ ตามเงื่อนไขข้อกำหนดฯ ทั้งนี้ จากการปรับลดอัตราค่าบริการ ทำให้มี IIG Traffic มีการใช้งานเป็น ๙๙๘ Gbps และ Bandwidth (IPLC) มีการใช้งานเป็น ๓,๑๒๓ Gbps รวม ๔,๑๒๑ Gbps คิดเป็น ๖๗.๑๑ % ของความจุสูงสุด โดยสิทธิการใช้งานความจุเท่ากับเดือนเมษายน ในขณะที่ปริมาณการใช้งาน IIG Traffic เพิ่มขึ้น ๑๐ Gbps และ Bandwidth (IPLC) เพิ่มขึ้น ๒๓ Gbps
ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ให้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเปิด (Over-The-Top : OTT) รายใหญ่ เข้ามาตั้ง Server ในประเทศไทย เพื่อเป็น Hub ในการให้บริการแล้ว โดยใช้งานบนระบบเคเบิลใต้น้ำที่ได้ขยายความจุจากกิจกรรมย่อยที่ ๒ ด้วยความพร้อมในการขยายความจุดังกล่าว ส่งผลให้บริการ IIG สามารถรองรับ Traffic จากผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศเมียนมาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเหตุความไม่สงบภายในประเทศได้ นอกจากนี้ บริการ IPLC สามารถส่งมอบวงจรที่ล่าช้าจากเหตุระบบเคเบิลใต้น้ำขัดข้องให้กับลูกค้าได้ตามกำหนดเช่นกัน ส่งผลให้เดือนเมษายน ๒๕๖๔ นั้น ทั้ง 2 บริการ มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้น สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมย่อยที่ ๒
กิจกรรมย่อยที่ ๓ การสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเส้นใหม่ (ASIA Direct Cable (ADC)) เป็นการร่วมก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่เชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ร่วมกับภาคีสมาชิก 6 ประเทศ
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนาม
สถานะปัจจุบัน
ขณะนี้ผู้รับจ้างก่อสร้างระบบ และภาคีสมาชิกดำเนินกิจกรรมการทำ Project Management Plan and Quality Assurance Review และ Marine Route Survey ทางด้านเหนือของระบบฯ และน่านน้ำฮ่องกง Desktop Study Review และ Product Design Review แล้วเสร็จ รวมถึงการผลิตสายเคเบิลและ Repeater แล้วเสร็จบางส่วน และอยู่ระหว่างการทำ Marine Route Survey ทางด้านใต้ของระบบฯ คาดว่าจะส่งมอบสิทธิการใช้งานได้ภายในปี ๒๕๖๕ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีเส้นทางที่หลากหลายเชื่อมตรง (Direct Route) โดยการลงทุนสามารถรองรับการใช้งาน จำนวน 9 Tbps ในเส้นทาง 1) ประเทศไทยไปฮ่องกง 2) ประเทศไทยไปสิงคโปร์ 3) ฮ่องกงไปประเทศญี่ปุ่น