![]() |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
ในการร้องเรียนการทุจริตควรมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น
1. ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของผู้ร้องเรียน
2. ชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกร้องเรียน
3. ข้อกล่าวหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริต
4. บรรยายพฤติการณ์การกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาการทุจริตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงวันเวลาที่กระทำความผิด รายละเอียดการกระทำความผิด พร้อมระบุพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐานที่สามารถยืนยันหรือสนับสนุนการกล่าวหาร้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง มีพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือไม่ เป็นผู้ใด อย่างไร ในเรื่องนี้ได้กล่าวหาร้องเรียนไปหน่วยงานใดหรือไม่ และเป็นผลประการใด
5. ควรป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ - สกุล หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ โทรศัพท์ และอีเมล (e-mail) ของผู้ร้องเรียนที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับเพื่อยืนยันการกล่าวหาร้องเรียน หรือขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างที่สุด กรณีที่ไม่เปิดเผยชื่อ - สกุลจริงถือว่าเป็น "บัตรสนเท่ห์" ซึ่งหากไม่ระบุพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ อาจไม่รับหรือไม่ยกเรื่องร้องเรียนดังกล่าวขึ้นพิจารณาได้
6. กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ
7. ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างที่สุด
ความเป็นมา |
---|
จากปัญหาการทุจริตที่ผ่านมา มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน โดยมุ่งการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวังเพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้เสริมสร้างกลไกขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ขึ้นมา ๓ ระดับ คือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นกลไกระดับนโยบาย มีนายกรัฐมนตรี/หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน กรรมการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติให้เป็นกลไกขับเคลื่อนภาพรวมระดับประเทศ และกลไกระดับปฏิบัติการ โดยการออกมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประจำอยู่ทุกส่วนราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่า ปัจจุบันมีจำนวน ๓๕ ศูนย์ ให้เป็นกลไกประสานงาน กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ข้อสั่งการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต กับหน่วยงานภายใต้กำกับทั้งหมด ซึ่งได้แก่หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนประสาน กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในฐานะที่สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต มีบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และด้านคุ้มครองจริยธรรม ดังนี้ |
วิสัยทัศน์ | "กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต" |
---|
พันธกิจ | "การป้องกันและปราบปรามการทุจิต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัต์สุจริต" |
---|
เป้าประสงค์ | 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต |
---|---|
2. สร้างกลไกป้องกันและปราบปรามการทุจริต | |
3. เสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | |
4. เพื่อยกระดับจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรในองค์กร |
ยุทธศาสตร์ | ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต |
---|---|
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก | |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต |
อำนาจหน้าที่ | กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ |
---|---|
1. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ | |
2. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ นโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ตลอดจนบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ และส่วนราชการในสังกัด | |
3. ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตามให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ | |
4. รับข้อรองเรียนเรื่องทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานงาน ติดตาม อย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ | |
5. เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอตช. สั่งการหรือร้องขอ | |
6. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ | |
7. ส่งเสริมให้ทุกภาพส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ | |
8. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัดและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
กลุ่มงานจริยธรรม | |
1. งานคุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน | |
2. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการระดับกระทรวง หรือระดับกรม | |
3. ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
4. รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด ตลอดจน เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ. | |
5. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การดำเนินการตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการและส่วนราชการในสังกัดเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ |
รายการพระราชกฤษฎีกา |
---|
- พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 |
รายการประมวลจริยธรรม |
---|
-ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2564 |
-พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 |
- ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน |