คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies) |
เปิดใช้งานตลอด |
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies) |
|
![]() |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
รมว.ดีอีเอส หน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Ministerial Conference on Cybersecurity : AMCC) และการประชุม AMCC วาระพิเศษ ที่ประชุมเห็นพ้องยึดหลัก 4P ในการร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ครอบคลุม Principle (หลักการ), Practice (การปฏิบัติ), Process (กระบวนการขับเคลื่อน) และ People Partnership and Pandemic (การพัฒนาศักยภาพบุคลากร)
วานนี้ (7 ตุลาคม 2563) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วานนี้ (7 ตุลาคม 2563) ได้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Ministerial Conference on Cybersecurity : AMCC) และการประชุม AMCC วาระพิเศษ ร่วมกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน โดยมี นายเอส อิสวารัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญในหลัก “4P” ในการดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประกอบด้วย 1.Principle ความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามบรรทัดฐานของรัฐบนโลกไซเบอร์ เพื่อให้การใช้พื้นที่บนโลกไซเบอร์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย 2. Practice การแปลงนโยบาย/หลักการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 3. Process กระบวนการดำเนินงาน ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามบรรทัดฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในระดับพหุภาคีและระดับภูมิภาค
และ 4. People Partnership and Pandemic การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติตามบรรทัดฐานขององค์การระหว่างประเทศ โดยการศึกษา ปรับปรุงกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้สอดคล้องตามบรรทัดฐานดังกล่าว พร้อมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหุ้นส่วนความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาหรือองค์กรภายนอก เพื่อรับมือกับโลกไซเบอร์ต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในปัจจุบันอย่างเป็นองค์รวม และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาค ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และเน้นย้ำถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ รวมทั้งการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอาเซียน
โอกาสนี้ รมว.ดีอีเอส ได้มีบทบาทสำคัญในระหว่างการประชุมฯ ดังนี้ การร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานด้านการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII Protection) ของไทย โดยเน้นย้ำถึงการศึกษาเรื่อง ASEAN CII Protection Framework ที่จะสามารถสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นของ CII ในภูมิภาคได้ โดยเฉพาะการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคในปัจจุบัน
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ในการประชุมฯ ตนยังได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงอย่างสั้นเพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในความปกติใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการต่อยอดและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ของภูมิภาคอาเซียน เช่น ศูนย์ ASEAN - Japan Cybersecurity Capacity Building Centre (AJCCBC) กับศูนย์ ASEAN - Singapore Cybersecurity Centre of Excellence (ASCCE) เพื่อรองรับความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภูมิภาค
สำหรับการประชุมครั้ง นี้มีรัฐมนตรี/ผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานที่ดูแลความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศจากอาเซียน 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม รวมทั้งประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ (UNGGE, UN OEWG) ซึ่งการประชุมหารือดังกล่าวเป็นการต่อยอดผลการศึกษาจากการประชุม AMCC ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2562
*********************