![]() |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ||
---|---|---|
นางคนึงนิจ คชศิลา | นางปิยนุช วุฒิสอน |
รายงานการตรวจราชการประจำปี |
---|
- รายงานผลการตรวจราชการ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปี 2561 |
กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
---|
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ |
ในการร้องเรียนการทุจริตควรมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น
1. ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของผู้ร้องเรียน
2. ชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกร้องเรียน
3. ข้อกล่าวหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริต
4. บรรยายพฤติการณ์การกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาการทุจริตอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงวันเวลาที่กระทำความผิด รายละเอียดการกระทำความผิด พร้อมระบุพยานหลักฐานหรืออ้างพยานหลักฐานที่สามารถยืนยันหรือสนับสนุนการกล่าวหาร้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง มีพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือไม่ เป็นผู้ใด อย่างไร ในเรื่องนี้ได้กล่าวหาร้องเรียนไปหน่วยงานใดหรือไม่ และเป็นผลประการใด
5. ควรป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ - สกุล หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ โทรศัพท์ และอีเมล (e-mail) ของผู้ร้องเรียนที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับเพื่อยืนยันการกล่าวหาร้องเรียน หรือขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างที่สุด กรณีที่ไม่เปิดเผยชื่อ - สกุลจริงถือว่าเป็น "บัตรสนเท่ห์" ซึ่งหากไม่ระบุพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ อาจไม่รับหรือไม่ยกเรื่องร้องเรียนดังกล่าวขึ้นพิจารณาได้
6. กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือเพื่อรายงานผลให้ท่านทราบ
7. ข้อมูลของท่านจะถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างที่สุด
วิสัยทัศน์ | "กระทรวงดิจิทัลฯ ใสสะอาด ปราศจากทุจริต" |
---|
พันธกิจ | "การป้องกันและปราบปรามการทุจิต การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัต์สุจริต" |
---|
ยุทธศาสตร์ | ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต |
---|---|
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก | |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต |
รายการพระราชกฤษฎีกา |
---|
- พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 |
รายการประมวลจริยธรรม |
---|
- ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน |
รายการแบบฟอร์ม |
---|
ASEAN Digital Hub
กิจกรรมการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)
ดศ. ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มศักยภาพไทยให้เป็นศูนย์กลางการติดต่อสารสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทราฟฟิคสูง และยังตอบสนองความต้องการใช้งานดิจิทัลคอนเทนต์จำนวนมากในประเทศ ซึ่งมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยการสร้างโอกาสอันดีที่ไทยจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ประกอบกิจการคอนเทนต์ (Content Provider) รายใหญ่ให้มาตั้งฐานข้อมูลในไทยใช้งานผ่านโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำที่ได้ขยายความจุไว้พร้อมรองรับอันจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาศักยภาพก้าวสู่การเป็น ASEAN Digital Hub ตอนบนได้อย่างมั่นคงซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมสำคัญ คือ
กิจกรรมย่อยที่ 1 เสริมความแข็งแกร่งในประเทศและเขตติดต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยการเพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมา และจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังสถานีเคเบิลใต้น้ำจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี สงขลา สตูล และกับศูนย์โทรคมนาคมของ บมจ. กสท โทรคมนาคม ขนาดความจุรวม 2,300 Gbps
สถานะปัจจุบัน
การจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนฯ ขนาดความจุรวม 2,300 Gbps บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้ส่งมอบงานให้กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ขณะนี้ อยู่ระหว่าง สป.ดศ. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของสินทรัพย์ เพื่อรับไว้ใช้ในราชการตามระเบียบพัสดุ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว มีปัญหาอุปสรรคจากปัจจัยภายนอก โดยพื้นที่การดำเนินโครงการได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ทำให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องยกเลิกการใช้งานระบบเคเบิลใต้น้ำ PS จึงเป็นเหตุจำเป็นให้ต้องพิจารณาออกแบบระบบในส่วนนี้ใหม่มาทดแทน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นจะต้องจัดหาอุปกรณ์และอุปกรณ์สำรองเพิ่มเติมในเส้นทางเคเบิลที่จัดหามาใหม่ ซึ่งมีผลต่อวงเงินงบประมาณและระยะเวลาดำเนินงาน มีรายละเอียดดังรูป
กิจกรรมย่อยที่ 2 ขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมโดยร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีสมาชิกของระบบ ขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของระบบที่มีอยู่ รวม 1,770 Gbpsเพื่อลดค่าบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้ค่าบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนถูกลง
สถานะปัจจุบัน
ดำเนินการขยายความจุงวดที่ 1 จำนวน 980 Gbps และการขยายความจุงวดที่ 2 จำนวน 790 Gbps (รวมเป็น 1,770 Gbps) แล้วเสร็จ และส่งมอบสิทธิการใช้งานแก่กระทรวงฯ แล้วเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 และกระทรวงฯ ได้อนุญาตให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ใช้สิทธิการใช้งานความจุจากการขยายระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศจากกิจกรรมนี้ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 โดยกระทรวงได้กำหนดให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ต้องลดอัตราค่าบริการสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศจากการใช้งานระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศภายใต้การดำเนินการของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายใน 2 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิการใช้งาน โดยขณะนี้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้นำสิทธิความจุที่ได้รับอนุญาตเปิดใช้งานแล้ว จำนวน 960 Gbps (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2563)