เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้ โดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า  
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว

คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)

เปิดใช้งานตลอด
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการ ใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการใน สาระสำคัญของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วย ให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม MDES ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Ministry of Digital Economy and Society
Logo DE Ministry. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • ...
  • ...
  • ...
ผลงานเน็ตประชารัฐ

โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
กิจกรรมที่ 1 การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ (โครงการเน็ตประชารัฐ)”

นโยบายรัฐบาลและการดำเนินงานโครงการเน็ตประชารัฐ

วันที่ 19 มกราคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านของประเทศไทย และได้มีการแต่งตั้ง “คณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ” ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน ดศ. และ กสทช. ซึ่งได้กำหนดหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) และเป็นพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 40,432 หมู่บ้าน และเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม 24,700 หมู่บ้าน โดยใช้เงินงบประมาณ
ปี 2559 และขอความร่วมมือให้ กสทช. ดำเนินการในหมู่บ้านส่วนที่เหลือเพิ่มเติมอีกจำนวน 15
,732 หมู่บ้าน และพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) 3,920 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณ USO ซึ่งได้แบ่งพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ดังนี้



คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 มอบหมายให้ ดศ. ดำเนินการจัดให้มีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Optical Distribution Network: ODN) ไปยังหมู่บ้านเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ซึ่งไม่ศักยภาพในเชิงพาณิชย์และยังไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวน 24,700 หมู่บ้านเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดให้มีจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสาธารณะประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ
1 จุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้ใช้บริการที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 30 Mbps/10 Mbps (Download/Upload) และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562 ได้ปรับเพิ่มเป็น 100/50 Mbps (Download/Upload) การติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านพิจารณาความเหมาะสม เข้าถึงง่าย และเดินทางสะดวก เช่น ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน (โดยไม่มีการก่อสร้างอาคาร/ศูนย์ให้บริการอินเทอร์เน็ต)   โดยในการออกแบบและติดตั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงจะต้องมีลักษณะทางกายภาพเป็นโครงข่ายแบบเปิด (Open Access Network) ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการอื่นได้โดยสะดวก โดยดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560

การส่งเสริมการใช้ประโยชน์โครงข่ายเน็ตประชารัฐ





ภาพรวมการดำเนินงาน

  • การขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ (โครงการเน็ตประชารัฐ) ดศ. ได้วางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสื่อสัญญา Fiber Opticให้ครอบคลุมหมู่บ้าน จำนวน 24,700 หมู่บ้าน จากหมู่บ้านทั้งหมด 74,987 หมู่บ้าน ทั้งนี้ มีอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว 30,653 หมู่บ้าน และ กสทช. จะดำเนินการอีก 19,652 หมู่บ้าน โดยในโครงการของ ดศ. (24,700 หมู่บ้าน) ได้จัดให้มีจุดให้บริการ Free WI-FI หมู่บ้านละ 1 จุด ที่ความเร็วไม่ต่ำกว่า 30/10 Mbps ที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อธันวาคม 2560 มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการ Wi-Fi ใหม่ประมาณเดือนละ 1-3 แสนราย
  • การดำเนินการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไปยังโรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 1,671 แห่งแบ่งเป็นโรงเรียน จำนวน 1,187 แห่ง และสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 484 แห่ง
ปริมาณการใช้งานเน็ตประชารัฐ รายปี 2561



ปริมาณการใช้งานเน็ตประชารัฐ รายปี 2562



ปริมาณการใช้งานเน็ตประชารัฐ รายปี 2563




ปริมาณการใช้งานเน็ตประชารัฐ รายปี 2564



สถานะปัจจุบัน
  • การดำเนินการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ (เน็ตประชารัฐ) จำนวน 24,700 หมู่บ้าน ที่ห่างไกลและยังไม่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560
  • ดำเนินการสร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐ โดยพัฒนาวิทยากรแกนนำ จำนวน 1,033 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 และวิทยากรแกนนำได้ไปสร้างการรับรู้และถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐให้แก่กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 99,413 คน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561 รวมทั้งหมดมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100,446 คน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการอบรมการใช้งานเน็ตประชารัฐให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม และขยายผลการสร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐไปสู่ประชาชนใน 24,700 หมู่บ้านที่มีการติดตั้งเน็ตประชารัฐ เรียบร้อยแล้วหมู่บ้านละ 1 ครั้ง เป้าหมายหมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 50 คน โดยมีผู้เข้ารับการอบรมฯ ทั้งสิ้นจำนวน 1,224,623 คน และได้วางกลไกการพัฒนาในระดับหมู่บ้านด้วยการสร้าง “เครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” จำนวน 24,700 คน
  • พัฒนาแอปพลิเคชัน “เครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” เครื่องมือสำหรับการทำงานของเน็ตอาสาประชารัฐ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำหรับประชาชนทั่วไป

การดำเนินการต่อไป

  • พิจารณาร่วมกับสำนักงาน กสทช. ในการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการขยายจุดติดตั้ง Free Wi-Fi ในหมู่บ้านเน็ตประชารัฐเพิ่มเติม รวมถึงกรณีหมู่บ้านตกสำรวจและหมู่บ้านเกิดใหม่ด้วย
  • (open access) การเปิดโครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนรายอื่น โดยเฉพาะรายเล็ก และ SME สามารถเข้ามาใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตไปยังบ้านเรือนประชาชน ด้วยหลักการ Open Access Network เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ เป็นต้นแบบในการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล (Digital Divide)
  • ติดตั้ง internet โรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 1,671 แห่ง (งบ BigRock)
  • ขยายเครือข่ายอาสาสมัครให้ครอบคลุมกลุ่มต่างๆ เช่น เยาวชน อสม. หมอดิน ลูกเสือไซเบอร์ ฯลฯ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน
  • พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ประชาชน กลุ่มอาชีพในหมู่บ้านเน็ตประชารัฐ ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน
  • ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ดิจิทัลของหมู่บ้านเน็ตประชารัฐไปสู่ความเป็นเลิศ จัดประกวดหมู่บ้านและคนต้นแบบ ไม่น้อยกว่า 500 ต้นแบบ
  • ส่งเสริมการการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนผ่านโครงการ Village E-Commerce: เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการชุมชน ไม่น้อย 500 ราย
  • สร้างกลไกการขับเคลื่อนงานและการติดตามประเมินผล

        ทั้งนี้ โครงการเน็ตประชารัฐได้รับเข้าร่วมประกวด WSIS Prize 2019 จัดโดย ITU (องค์กรของ United Nations) และได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Infrastructure)  จากจำนวน 284 โครงการทั่วโลกที่เข้าประกวด


ดาวโหลดแอปพลิเคชัน เพื่อสะสมแต้มแลกของรางวัลแลกเลยไม่ต้องลุ้น
Android
IOS



           เมื่อวันที่ 8 .. 64 นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอสและนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์  รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้าร่วมให้การต้อนรับ นายวราวุธภู่อภิญญา เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต  กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมการจัดกิจกรรม Thailand Digital Innovation Festival ในงานWorld Expo 2020 Dubai  เมือง ดูไบ นำเสนอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อตอบรับกับนโยบาย 4.0 ระหว่างวันที่ 5-11 มกราคม 2565 ภายใต้แนวคิด CONNECTING THAILAND, CREATING THE FUTURE “เชื่อมความคิด สร้างอนาคต

 

          ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตวราวุธ ได้กล่าวชื่นชมการนำเสนอผลงานของกระทรวงฯ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากโครงการเน็ตประชารัฐ ในด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร และด้านการค้าขายออนไลน์ รวมทั้งวิดีโอนำเสนอการทำงานด้านสร้างการรับรู้และรู้เท่าทันข่าวปลอม ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พร้อมกันนี้ ได้กล่าวฝากถึงประชาชนชาวไทย ถึงความสำคัญของการตระหนักรู้การใช้เทคโนโลยีสื่อโซเชียลอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่กระทำการละเมิดกฎหมายทั้งในส่วนของ ...คอมพิวเตอร์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

           สำหรับภาพรวมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงาน World Expo 2020 Dubai ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในการเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการของประเทศไทย และกิจกรรม Thailand Digital Innovation Festival ซึ่งสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้เข้าชมให้ร่วมเล่นเกมส์ ตอบคำถาม พร้อมรับแจกเข็มกลัดที่ระลึก ทำให้ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษกับกลุ่มครอบครัว และเด็กๆ

 

การเปิดโครงข่ายเน็ตประชารัฐ (OpenAccessNetwork)

โครงข่ายเน็ตประชารัฐเป็นโครงข่ายที่รัฐบาลลงทุน ซึ่งรัฐบาลเปิดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. เชื่อมต่อโครงข่ายไปให้บริการแก่ครัวเรือน โดยทำข้อตกลงกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกระทรวงฯ ไม่คิดค่าใช้โครงข่ายฯ ทั้งนี้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Switch ของโครงข่ายเน็ตประชารัฐ ตามภาพในหน้าถัดไป โดยผู้ขอใช้ Open Access Network เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ในจุด A (เป็นจุดเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการรายอื่น) และ จุด B (เป็นการเชื่อม Drop Optic จาก SDP ของเน็ตประชารัฐไปยังบ้านเรือนประชาชน) 


โครงข่ายเน็ตประชารัฐแบบเปิด OPEN ACCESS NETWORK
  • การเปิดโครงข่ายเน็ตประชารัฐ ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเข้าเชื่อมต่อเพื่อไปให้บริการยังบ้านเรือนประชาชน
  • ลดความซ้ำซ้อนในการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ช่วยลดต้นทุนการคิดค่าบริการกับประชาชน
  • ครอบคลุมในพื้นที่เป้าหมาย 24,700 หมู่บ้าน ที่กระทรวงดิจิทัลฯ รับผิดชอบ
  • กระทรวงฯ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ยื่นข้อเสนอตามที่กระทรวงกำหนดจำนวน 6 ราย เชื่อมต่อโครงข่ายและขณะนี้ได้ลงนามในสัญญาอนุญาตแล้ว 3 ราย
  • ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่มีความสนใจ ยังสามารถยื่นความประสงค์ขอเชื่อมต่อได้ที่กระทรวงดิจิทัลฯ

ติดต่อเพิ่มเติม
ศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โทร: 02 142 3323
โทรสาร: 02 143 7802
Email: mdes0208@mdes.go.th
หรือสแกน QR code : คลิกลิงก์

ดาวโหลดแอปพลิเคชัน เพื่อสะสมแต้มแลกของรางวัลแลกเลยไม่ต้องลุ้น
Android
IOS
 
ขั้นตอนการขอย้ายจุดติดตั้ง
               
               กระทรวงฯ ได้มีแนวทางการปฏิบัติกรณีขอย้ายจุดบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ซึ่งต้องเป็นความสมัครใจของสมาชิกในหมู่บ้านโดยการประชุมหารือร่วมกัน และให้คณะกรรมการของหมู่บ้านลงนามในหนังสือแสดงความจำนงขอย้ายจุดติดตั้งมายัง ดศ. และขอให้มีเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
               2.1  รายงานการประชุม/ประชาคมหมู่บ้านในการขอย้ายจุดติดตั้งหรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นความต้องการของชาวบ้านโดยรวม พร้อมระบุสาเหตุการขอย้าย
               2.2  ภาพถ่ายจุดติดตั้งเดิม 
               2.3  ภาพถ่ายสถานที่ที่ต้องการติดตั้งใหม่
             ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะเป็นผู้พิจารณา และแจ้งให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการย้ายจุดติดตั้งต่อไป

การขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

ดศ. ได้มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายที่เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)  ไปยังโรงเรียน และโรงพยาบาลของรัฐที่ยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และขยายความจุอินเทอร์เน็ต (Bandwidth) ให้กับโรงพยาบาล เพื่อรองรับการตรวจรักษาทางไกล (Tele-Medicine)จำนวนทั้งสิ้น 1,671 แห่ง (ร.ร. 1,187 แห่ง และรพ. 484 แห่ง) โดยจะไม่ดำเนินการทับซ้อนกับพื้นที่ที่สำนักงาน กสทช. รับผิดชอบอยู่

ข่าวดี!! เน็ตประชารัฐปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็น 100/50 MBPS เริ่มแล้ววันนี้
ข่าวดี!! เน็ตประชารัฐปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็น 100/50 Mbps เริ่มแล้ววันนี้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปรับปรุงประสิทธิภาพอินเทอร์เน็ตในโครงการเน็ตประชารัฐ โดยการปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ให้บริการในโครงการเน็ตประชารัฐ จำนวน 24,700 จุด จากเดิม 30/10 Mbps (Download/Upload) เป็นความเร็ว 100/50 Mbps (Download/Upload) เริ่มแล้ววันนี้!!

จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตของโครงการเน็ตประชารัฐที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าใช้งานทั้งหมด 7,818,288 ราย นอกจากยอดการลงทะเบียนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายของโครงการแล้ว ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “เครือข่ายเน็ตอาสาประชารัฐ” ยังพุ่งสูงถึง 2 แสนครั้ง เพื่อตอบสนองการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางกระทรวงฯ จึงได้ปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตเป็น 100/50 Mbps เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของโครงการได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง สร้างความยั่งยืนทางด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การค้าขาย สื่อสังคมออนไลน์ และบริการจากทางภาครัฐอย่างเท่าเทียม

เงื่อนไขการใช้งาน:

  1. ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโครงการเน็ตประชารัฐ Thailand Wi-Fi by MDES สามารถใช้งานผ่านระบบ Wi-Fi เท่านั้น
  2. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Access Point (AP) ของโครงการฯ จะกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต ผ่านคลื่นความถี่ 2 คลื่น คือ คลื่นความถี่ 2.4 GHz และคลื่นความถี่ 5.0 GHz
  3. ผู้ใช้งานผ่านคลื่นความถี่ 5 GHz จะได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ความเร็วถึง 100/50 Mbps (Download/Upload) ในระยะห่างจาก AP ไม่เกิน 25 เมตร และผู้ใช้งานผ่านคลื่นความถี่ 2.4 GHz จะได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ความเร็วไม่เกิน 60 Mbps ในระยะห่างจาก AP ไม่เกิน 27 เมตร (แม้ว่าจะเพิ่มความเร็ว เป็น 100/50 Mbps)
  4. จากข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สาย โครงการเน็ตประชารัฐ มีสถิติผู้ใช้งานบนอุปกรณ์ผ่านคลื่นความถี่ 2.4 GHz ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานร้อยละ 90 ดังกล่าว จะใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วไม่ถึง 100/500 Mbps (Download/Upload)
ดาวโหลดแอปพลิเคชัน เพื่อสะสมแต้มแลกของรางวัลแลกเลยไม่ต้องลุ้น
Android
IOS



--------------------------------------------------
 
ศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูล ณ ตุลาคม 2564

 




icon-sitemap    std-w1    std-w2    WCAG 2.0 (Level AA)
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ Loading...


กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

120 หมู่ 3 ชั้น 6-9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

ติดตามข่าวสาร


facebook
instagram
twitter
youtube
rss